จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2550

บทที่ 2

เริ่มต้นใช้งาน
คำแนะนำ การใช้ เครื่องหมายสัญลักษณ์
การใช้ เครื่องหมายสัญลักษณ์ จะเขียน สัญลักษณ์ (Icon) พร้อม ชื่อสัญลักษณ์ กำกับไว้ เช่น
Icon นี้ ชื่อ New Design เขียนกำกับไว้ ในกรณีบางรูปไม่ชัดเจน หรือรูปขาวดำมีลักษณะเดียวกัน จะได้ใช้ Icon ได้ถูกต้อง
การเปิดชิ้นงานใหม่ : New Design
1. คลิกเมาส์ที่ (New Design) เป็นชื่อเรียก ของ Icon เขียนกำกับเพื่อว่า รูปไม่ชัด หรือรูปขาวดำมีลักษณะเดียวกัน ) เพื่อเปิดชิ้นงานใหม่
2. ปรับหน้าต่างให้ใหญ่ที่สุด
3. ตรงส่วนนี้สามารถเลือกการทำงานหรือแก้ไขในงาน
พื้นที่ทำงาน :Workplanes

4. นักเรียนจะต้องมีความรู้เบื้องต้นในเรื่องของ สิ่งประดิษฐ์หรืองาน ที่อยู่ใน Workplanes และ New Sketches
5. คลิก เพื่อแสดงให้เห็น Workplanes ทั้ง 3 ด้านที่อยู่ใน Pro/DESKTOP.

6. ในทุก ๆ Base Workplane จะมี New Sketch อยู่ การเลือกทำงานใน Workplane อื่น ให้คลิกที่เส้นกรอบของ Workplane โดยเส้นกรอบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและสีแดง > คลิกขวา ที่เมนูเลือก New Sketch หรือไปที่ Workplane > New Sketch
7. เปลี่ยนชื่อ New Sketch ให้มีความหมายสอดคล้องการงานที่ทำ
8.ok

บทที่ 4

การตัดมุมที่มีลักษณะมนกลม : Round Edges
ขั้นตอนการสร้าง
1. คลิกที่ (Newdesign) เพื่อเปิดชิ้นงานใหม่ วาดรูป
สี่เหลี่ยมผืนผ้าสร้างรูปทรงเหลี่ยม Extrude Profile
ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์







แถบเครื่องมือใน Pro/DESKTOP 2001

บทนำ


โปรแกรม Pro/DESKTOP คืออะไร
Pro/DESKTOP เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางการศึกษาที่ใช้สอนนักเรียนในเรื่องการออกแบบและสร้างงาน 3 มิติ ซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Pro/DESKTOP นี้ง่ายต่อการใช้งาน และมีความเหมาะสมต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โดยสามารถนำโปรแกรม Pro/DESKTOP มาเป็นเครื่องมือในการออกแบบและสร้างชิ้นงานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนเอง ซึ่งการสร้างชิ้นงานสามารถมองเห็นชิ้นงานเป็น 3 มิติเสมือนจริง อีกทั้งนักเรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจการสร้างสรรค์ชิ้นงาน และออกแบบผลิตภัณฑ์ในเชิงการตลาด หากนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการใช้โปรแกรม Pro/DESKTOP มากขึ้นจะเป็นแนวคิดและมองเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพในอนาคต เป็นวิศวกร นักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และนักเทคโนโลยี เป็นต้น
โปรแกรม Pro/DESKTOP นี้เหมาะสำหรับใช้สอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษา วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ซึ่งใช้เวลาในการศึกษาเรียนรู้เพียง 2-3 สัปดาห์ก็สามารถทำความเข้าใจได้เป็นอย่างดี สำหรับการเรียนการสอนเพื่อใช้ในการสร้างชิ้นงาน/โครงงานของนักเรียน จะใช้เวลาเพียง 2-3 ชั่วโมง
ก็จัดสร้างชิ้นงานขั้นพื้นฐานได้เป็นอย่างดี อีกทั้งนักเรียนสามารถนำโปรแกรม Pro/DESKTOP นี้ไปใช้และฝึกปฏิบัติงานที่บ้านได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้นักเรียนเกิดความชำนาญในการใช้โปรแกรม Pro/DESKTOP เพิ่มขึ้น

โปรแกรม Pro/DESKTOP ทำอะไรได้บ้าง

โปรแกรม Pro/DESKTOP สามารถใช้ฝึกทักษะและสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ เช่น
1. การออกแบบโครงร่างชิ้นงาน
2. การทำรูปทรง 3 มิติ ต่าง ๆ
3. การออกแบบทางด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม
4. การออกแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
5. การออกแบบชิ้นงาน Animation
6. การจัดทำภาพฉาย (Projection)
ฯลฯ
โปรแกรม Pro/DESKTOP เข้ามาสู่วงการศึกษาประเทศไทยได้อย่างไร

เมื่อปลายปีงบประมาณ 2546 บริษัท PTC U.S.A. ได้ติดต่อมายังกระทรวงศึกษาธิการ
เพื่อมอบโปรแกรม Pro/DESKTOP พร้อมลิขสิทธิ์ใช้งานสำหรับนักเรียนไทยในระดับมัธยมศึกษา โดยมี นายพงศ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล (ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น) เป็นผู้รับฟังการนำเสนอศักยภาพของโปรแกรม จากนั้นคณะเข้าพบ พณฯนายกรัฐมนตรี เพื่อมอบโปรแกรมดังกล่าวไว้ใช้ประโยชน์พร้อมทั้งมีวิทยากรชาวต่างประเทศสาธิตการใช้โปรแกรมภายใต้การตรวจรับโดยผู้เชี่ยวชาญด้าน IT จากหน่วยงานต่าง ๆ
โปรแกรม Pro/DESKTOP มี 2 ระดับ คือ โปรแกรมที่ใช้ในระดับมัธยมศึกษา และระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งประเทศไทยได้รับมอบโปรแกรม Pro/DESKTOP เพื่อการใช้งานฟรี จำนวน 20 ชุด สำหรับระดับมัธยมศึกษา โดยอนุญาตให้นักเรียนไทยทุกคนใช้ได้ โดยไม่มีข้อจำกัด ยกเว้นถ้านำไปใช้ในเชิงธุรกิจ
ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้ให้ข้อคิดเห็นว่า โปรแกรม Pro/DESKTOP มีรูปแบบการใช้งานที่ง่ายต่อการเรียนรู้ เหมาะกับการเรียนในระดับมัธยมศึกษา น่าจะขยายผลการใช้งานให้ครอบคลุมทั้งประเทศ ผนวกกับขณะนี้ ทางโครงการโรงเรียนในฝันกำลังต้องการเครื่องมือในการผลิตสื่อใช้งาน จึงเห็นพ้องกันว่าโปรแกรม Pro/DESKTOP นี้ น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งของโครงการโรงเรียนในฝัน จึงได้จัดการฝึกอบรมนำร่องให้กับคณะศึกษานิเทศก์ และครู จำนวน 38 คน เพื่อทดลองใช้โปรแกรม Pro/DESKTOP โดยมีวิทยากรชาวต่างประเทศ ให้การฝึกอบรม ก่อนที่จะขยายผลไปยังโรงเรียนอื่น ๆ ทั่วประเทศ

ความต้องการด้าน Hardware ขั้นต่ำ
คู่มือการใช้ โปรแกรม Pro/DESKTOP ได้กำหนดคุณสมบัติของ Hardware ขั้นต่ำไว้ดังนี้
- เพนเทียมอินเทลขั้นต่ำ 166 MHz หรือสูงกว่า
- หน่วยความจำขั้นต่ำ 64 MB
- ที่ว่างของฮาร์ดดิสก์ 80 MB (สำหรับโปรแกรม)
- มีที่ว่างอิสระในโฟลเดอร์ TEMP ระหว่างการะบวนการติดตั้ง 110 MB
- ไมโครซอฟต์ Windows 98, Me, 2000, XP, NT 4.0
ข้อเสนอแนะจากการทดลองใช้โปรแกรม

1. Window 98 จากการทดลองใช้งาน โปรแกรมนี้จะทำงานได้ดี บน RAM ตั้งแต่ 128 MB และมีความจำการ์ดจอ 16 MB ขึ้นไป หากต้องการใช้งานโปรแกรมอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ควรใช้ 32 MB ขึ้นไป
2. Windows XP ควรจะมี RAM ไม่น้อยกว่า 256 MB
3. ในกรณีเครื่องมีขีดความสามารถต่ำ ให้ปิดหน้าต่างที่ไม่ใช้งาน ให้คงเหลือหน้าต่างที่กำลัง
ทำงานปัจจุบัน จะช่วยแก้ปัญหาได้บ้าง

จุดเด่นของโปรแกรม Pro/DESKTOP

โปรแกรม Pro/DESKTOP ง่ายต่อการใช้งานพอสมควร และสามารถฝึกทักษะด้านกระบวนการคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งผู้ใช้งานโปรแกรม Pro/DESKTOP ได้ศึกษาและฝึกทักษะให้มีความชำนาญและเชี่ยวชาญ ก็จะสามารถนำโปรแกรม Pro/DESKTOP ไปใช้ในการออกแบบต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันและประกอบอาชีพได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อออกแบบผลิตภัณฑ์หรือชิ้นงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว โปรแกรม Pro/DESKTOP สามารถแสดงภาพฉายของชิ้นงานให้ด้วย ซึ่งผู้สร้างชิ้นงานไม่ต้องเขียนภาพฉายอีก
นอกจากนี้ ยังสามารถออกแบบ Model ที่แสดงภาพการเคลื่อนไหว หรือลักษณะการใช้งานของModel นั้น ๆ ได้ด้วย

ข้อคิดจาก Ivan Chester ( MindustrailEd Newcastle, Director of Studies, Bachelor Of Technology Education, Australia) วิทยากรผู้ฝึกรมรมการใช้งานโปรแกรม Pro/Desktop

Ivan ได้เสนอข้อคิดเห็นบางประการต่อกระทรวงฯ และครูเกี่ยวกับการฝึกอบรมโปรแกรม CAD ในฐานะที่ Ivan เป็นผู้สนใจในงานวิจัยทางด้านการเรียนรู้ (Cognitive research) เกี่ยวกับการสอน CAD และการแก้ปัญหา
ผลการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ (การคิด) แสดงให้เห็นว่าการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนเกิดขึ้นได้โดย การสร้างภาพความคิด (การคิดในภาพที่สร้างขึ้นมาในใจ) ในการแก้ปัญหา ความสามารถในการสร้างภาพความคิดของนักเรียนมีหลายแนวทาง และคาดหวังว่าการใช้โมเดล 3 มิติ เช่น จากโปรแกรม Pro/Desktop เป็นต้น จะสามารถแก้ปัญหานี้ของนักเรียนได้ ซึ่งผลการวิจัยปัจจุบันยังไม่มีในเรื่องนี้
(Ivan ได้ทำงานเกี่ยวกับเรื่องนี้มาพอสมควรและเชื่อว่ายังไม่มีการวิจัยในเรื่องนี้ เพราะส่วนมากศึกษากับกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุมากกว่าวัยนักเรียน และ นักศึกษากับกลุ่มวิศวกรและสถาปนิกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องสร้างภาพความคิด ขึ้นมาใช้ในการทำงานอยู่แล้ว) คุณ Ivan ได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยเกี่ยวกับภาพความคิดเพื่อที่จะหาแนวทางที่จะแก้ปัญหานักเรียน โดยการใช้การสร้างภาพความคิดในการสอน Pro/Desktop และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ตลอดช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา และคุณ Ivan พบว่า มียุทธวิธี 5 อย่าง ที่จะแก้ปัญหาการสร้างภาพความคิดได้ดังนี้
1. การสร้างรูปแบบกระบวนการคิด เป็นสิ่งสำคัญในการสอนเริ่มต้นและสำคัญมากขึ้นในการ แก้ปัญหา
Ivan ดำเนินการโดยการเล่าให้นักเรียนทั้งชั้นฟังถึงยุทธวิธีที่ใช้แก้ปัญหาจากนั้น save งานต้นแบบ แล้วสาธิตวิธีการแก้ปัญหาให้นักเรียนดู ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้นักเรียนที่เพิ่งเริ่มต้นเรียนรู้เข้าใจวิธีการแก้ปัญหาที่ครูใช้ ฝึกฝน และกลายเป็นผู้ที่สามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ในที่สุด
2. การสเก็ตช์ (sketching) การสเก็ตช์จะช่วยให้นักเรียนสร้างภาพจิตนาการขึ้นมาในความทรงจำและใช้ภาพ sketch นี้คิดเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะทำต่อไป รวมทั้งก่อให้เกิดภาพ sketch อื่น ๆ อีก และความสามารถในการจัดภาพ sketch ที่ซับซ้อน (มีภาพ sketch หลาย ๆ ภาพ) อีกด้วย
Ivan ใช้การ sketch โดยให้นักเรียน sketch รูปร่างในทิศทางที่แตกต่างจากที่ครูสอนในแต่ละ feature เช่น extrude, thin or taper เป็นต้น จากนั้นให้นักเรียนถ่ายภาพวัตถุของจริง แล้วถามนักเรียนให้บอกวิธีการที่จะสร้าง model ต้นแบบของวัตถุจริงนั้นขึ้นมา ซึ่งตรงนี้นักเรียนจะสามารถระบุได้ว่าส่วนใดที่ต้อง extrude ส่วนใดต้อง loft ส่วนใดต้อง revolve เป็นต้น จากนั้นนักเรียนจะทำการ sketch ใน workplane และวาดรูปร่างของแต่ละ sketch ที่นักเรียนต้องการสร้าง กระบวนการนี้เกิดขึ้นเร็วมากในการสร้าง model ใน ProDesktop และ ทำให้เกิดการคิดและภาพความคิดขึ้นมาได้ดี
3. การเรียนรู้แบบร่วมมือ ผู้เรียนที่มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาในกลุ่มสามารถเรียนรู้กระบวนการคิดได้ดีกว่า โดยการเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาของนักเรียนคนอื่น และ เลือกวิธีการแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด
4. การอธิบายวิธีการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นฟัง การให้นักเรียนอธิบายให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง ถึงวิธีการใช้ model ให้ได้ผลดีมากขึ้นในสถานการณ์ต่าง ๆ กระบวนการอธิบายนี้มีประสิทธิภาพโดยตัวของมันเอง อยู่แล้ว การฟังยุทธวิธีของผู้อื่นก็เช่นเดียวกัน ทั้งการอธิบายและการฟังจะทำให้นักเรียนจินตนาการจาก คำอธิบาย ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาความสามารถในการสร้างภาพความคิด และ การอธิบายยุทธวิธีจะช่วยให้เกิดการปรับปรุงให้ดีขึ้นในโอกาสต่อไป
5. การให้ข้อมูลย้อนกลับในทันที การให้ข้อมูลย้อนกลับในทันทีจะช่วยให้นักเรียนปรับความคิดให้ถูกต้อง เมื่อนักเรียนอธิบายยุทธวิธีในการสร้าง model ของรูปภาพอื่น ๆ ครูอาจจะถามนักเรียนคนอื่นเพื่อที่จะช่วยเหลือและครูก็คอยแนะนำ ทั้งต่อนักเรียนแต่ละคน หรือต่อนักเรียนทั้งชั้น นอกจากนี้ยังเป็น การให้โอกาสในการพัฒนาวิธีการที่ดีที่จะระบุความเป็นไปได้ในการทำ mirror, copy, scale
Ivan คิดว่าเป็นสิ่งสำคัญในการทำเทคนิคเหล่านี้เข้ามาใช้ในการฝึกอบรม Pro/Desktop ในประเทศไทย ผลการวิจัย CAD ชี้ให้เห็นว่าการใช้คำสั่งของ CAD เช่น นี่คือวิธีการ extrude เป็นต้น ไม่ใช่วิธีการที่จะใช้ซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด Ivan เชื่อว่ามันไม่ใช่วิธีการที่จะส่งเสริมความสามารถในการสร้างภาพความคิด และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนด้วย ดังนั้นเพื่อให้ การแก้ปัญหาความสามารถในการสร้างภาพความคิดและการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน โดยการใช้ Pro/Desktop เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรใช้เทคนิควิธีการที่ Ivan นำเสนอนี้สอดแทรกเข้ามาใช้ด้วย รวมทั้งวิจัยติดตาม ผลการใช้เทคนิค
วิธีการนี้ในการฝึกอบรม Pro/Desktop ที่มีต่อความสามารถทั้ง 2 อย่างของนักเรียนด้วย

แนวทางในการนำโปรแกรม Pro/DESKTOP ใช้ในโรงเรียน

จากขีดความสามารถของโปรแกรม Pro/DESKTOP และลักษณะของโปรแกรมที่เหมาะกับการฝึกทักษะกระบวนการทางความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน และสามารถใช้เป็นเครื่องมือของครูในการสร้างสื่อการเรียนการสอนรายวิชาต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น หากมีการนำไปเผยแพร่ในโรงเรียน ควรกำหนดจุดประสงค์ของการนำไปใช้ ดังนี้

1. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับฝึกความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนทุกระดับ
2. เพื่อให้นักเรียนมีทางเลือกในการเรียนวิชาประเภทกราฟิกสำหรับการออกแบบ
ผลิตภัณฑ์ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง สามารถพัฒนาไปสู่ทักษะชั้นสูง นำไปสู่ขั้นอาชีพจริงได้
3. เพื่อให้ครูผู้สอน ทุกกลุ่มสาระ นำไปเป็นเครื่องมือในการจัดทำสื่อการเรียนการสอน เพื่อ
เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ในสาระวิชานั้น ๆ ได้ดีขึ้น

โปรแกรม Pro/DESKTOP สามารถนำไปไปใช้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ใดบ้าง

โปรแกรม Pro/DESKTOP สามารถจะนำไปใช้สอนในกลุ่มสาระพื้นฐาน สาระเพิ่มเติม และ กิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้
1. เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีทุกช่วงชั้น
2. เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสาระเพิ่มเติมโดยให้นักเรียนเลือกตามความสนใจ
3. จัดเป็นกิจกรรมสนใจของนักเรียน เช่น ชมรม ชุมนุมต่าง ๆ
4. จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระอื่น ๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
เขียนแบบ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ฯลฯ โดยระบุอยู่ในแผนการจัดการเรียนรู้ และให้ใช้โปรแกรมนี้เป็นสื่อในการออกแบบ รายงาน และนำเสนอ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามคณะทำงานขอเสนอเป็นหลักการว่า โปรแกรม Pro/DESKTOP นี้เป็นโปรแกรมกราฟฟิกชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับโปรแกรมอื่น ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือ หรือ สื่อการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกทักษะความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์ทั่วไป ให้พิจารณาเลือกใช้ส่วนที่ดี
ที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ ส่วนทักษะขั้นสูงที่สามารถจะออกแบบผลิตภัณฑ์ได้จริง ควรจะเป็นทางเลือกให้นักเรียนได้เลือกเรียนในสาระเพิ่มเติม หรือกิจกรรม สนใจ

บทที่ 9





การสร้างภาชนะรูปแก้ว : Revolve
ขั้นตอนการสร้าง
1. คลิกที่ (New Design) เพื่อเปิดชิ้นงานใหม่
2. เลือก work plane ชนิด frontal หรือ lateral
3. เลือก work plane เลือก New Sketch
4. ใช้เครื่องมือเขียนเส้นตรง(Straight) วาดรูปโครงสร้างแก้ว ตามรูป เมื่อเส้นโครงร่างบรรจบกันจะเกิดพื้นที่เป็นสีในพื้นที่ที่สร้างขึ้น
5. คลิกที่เส้นตรง ตรงศรชี้ เพื่อเป็นแกนสำหรับหมุน
6. เมนู Feature > Revolve Profile
7. ทำการลบมุมแก้ว ดำเนินการดังนี้
8. ใช้เครื่องมือ Select Faces คลิกบริเวณขอบแก้วเพื่อทำการลบมุม (เลือกตำแหน่งลบมุม)
9. เลือกเครื่องมือลบมุม (Round edge) กำหนดลบมุม 2 mm คลิก OK

จะได้ดังรูป

บทที่ 8






การทำรูปโครงร่างให้มีมิติ : Thin
ขั้นตอนการสร้าง
1. คลิกที่ เพื่อเปิดชิ้นงานใหม่ ลากเส้นโดยใช้เครื่องมือลากเส้นโค้งอิสระ (Spline) ดังภาพ
2. คลิกเส้นที่สร้างขึ้นให้ active (ปรากฏเป็นเส้นสีแดง)
3. คลิกที่ เพื่อเรียกใช้คำสั่ง Extrude จะเกิดจุดสีเหลืองตรงกลางรูป drag mouse ให้ยืดลง เพื่อกำหนดค่า Distance และความหนา (Thin) ตามต้องการ ต่อมาเลือก Below Workplane กำหนดมุมใน taper angle ตามความต้องการ แล้ว เลือก Symmetric (ดังภาพ) เสร็จแล้วเลือก OK
จะปรากฏภาพดังนี้



นอกจากนี้อาจสร้าง profiles ที่มีรูปแบบอิสระอื่น ๆ อีก โดยใช้คำสั่ง “Spline และ Thin” ดังภาพ

บทที่ 7





การปรับเปลี่ยนและเจาะวัตถุทรงตัน : Solid Objects
ขั้นตอนการสร้าง
1. คลิกที่ เพื่อสร้างชิ้นงานใหม่ วาดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและสี่เหลี่ยมจัตุรัส (กดปุ่ม Shift ในขณะสร้างรูปสี่เหลี่ยม) ให้ได้ ดังภาพ
2. เลือกเส้นรอบรูปของสี่เหลี่ยมจัตุรัส (จะเป็นเส้นสีแดงทั้งสี่ด้าน) หลังจากนั้นคลิกขวาบนสี่เหลี่ยมจัตุรัส เลือกคำสั่ง Transform เลือกคำสั่งย่อย Rotate กำหนดมุม เพื่อหมุนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส (ในที่นี้กำหนดมุม 45 องศา) เลือก OK รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสจะหมุนตามมุมที่กำหนด ดังภาพ
3. กดปุ่ม Shift เลือกรูปสี่เหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ใช้คำสั่ง Extrude Profile กำหนดความหนา เลือกแบบ Below Workplane เลือก OK
4. ใช้คำสั่ง Select Faces แล้วเลือกด้านที่ต้องการให้โปร่งใส (ในที่นี้เลือกด้านบน ด้านที่ถูกเลือกจะปรากฏสีต่างจากด้านอื่น) หลังจากนั้นเลือกคำสั่ง Featers > Shell solids แล้วกำหนดความหนาของรูป เลือก OK
5. ภาพที่สร้างเสร็จแล้ว จะปรากฏ ดังนี้

บทที่ 6






การตัดมุมของรูปเหลี่ยม : Chamfer Edges
การใช้คำสั่ง Chamfer Edges ในการตัดมุมของรูปเหลี่ยม โดยกำหนดให้ด้านหนึ่งเป็นการตัดมุมแบบ Equal setback ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นการตัดมุมแบบ Unequal setback
ดังภาพ
ขั้นตอนการสร้าง
1. คลิกที่ (Newdesign) เพื่อเปิดชิ้นงานใหม่ วาดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสร้างรูปทรงเหลี่ยม Extrude Profile ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์

2. คลิกที่ (Select Edges) เลือกด้านใดด้านหนึ่งของรูป > คลิกที่ (Chamfer Edges) หลังจากนั้นกำหนดค่า Chamfer กำหนดค่า Setback > OK ดังภาพ
3. ด้านที่เลือกจะได้รับการตัดมุม ดังภาพ
4. ทำเช่นเดียวกันนี้กับด้านอีกด้านหนึ่ง แต่กำหนดค่า Chamfer แบบ Unequal setback > OK ดังภาพ
5. ด้านที่ถูกเลือกจะได้รับการตัดมุมเช่นเดียวกัน ดังภาพ
ขั้นตอนการสร้าง
1.คลิกเมาส์ที่ New Design เพื่อสร้างชิ้นงานใหม่ วาดรูปสี่เหลี่ยม หรือรูปแบบต่าง ๆตามต้องการ
คลิกที่เครื่องมือ Extrude จะเกิดจุดสีเหลืองตรงกลางรูป drag mouse ให้ยืดขึ้น เพื่อกำหนดความหนาของ object
3.คลิก OK จะได้รูปทรงตามต้องการ

บทที่ 5




การตัดมุมที่มีลักษณะมนกลมทั้งสองข้าง : Round Edges
ขั้นตอนการสร้าง
1. คลิกที่ (Newdesign) เพื่อเปิดชิ้นงานใหม่ สร้างรูปทรงเหลี่ยม แล้ว Extrude Profile ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ หลังจากนั้นเลือกด้านที่ต้องการตัดมุม 2 ด้าน กดปุ่ม Shift ขณะใช้คำสั่ง Select edges เพื่อเลือกด้าน (สังเกตว่าเส้นมีสีแดง)
2. ใช้คำสั่ง Feature แบบ Round Edges หลังจากนั้นกำหนดค่า Round แบบ Constant radius กำหนดค่า Radius > OK ดังภาพ

จะได้รูปทรงตามต้องการ

บทที่ 4



การตัดมุมที่มีลักษณะมนกลม : Round Edges
ขั้นตอนการสร้าง
1.คลิกที่ (Newdesign) เพื่อเปิดชิ้นงานใหม่ วาดรูป
สี่เหลี่ยมผืนผ้าสร้างรูปทรงเหลี่ยม Extrude Profile
ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์

2.คลิกที่ Select Edges เลือกด้านใดด้านหนึ่งของรูป >
คลิกที่ ound Edges) หลังจากนั้นกำหนดค่า Round แบบ Constant radius กำหนดค่า Radius
3. คลิก OK.

บทที่ 3

บทที่ 3
การสร้างวัตถุทรงตัน
Powered By Blogger